“กระเทียมดำ” กับ 10 สรรพคุณเลอค่าที่ต่างชาติยังยอมรับ




กระเทียมดำ คืออะไร

  อันที่จริงแล้ว กระเทียมดำ (Black garlic) ก็คือกระเทียมขาวพันธุ์ปกติ แต่ผ่านกระบวนการหมักด้วยกรรมวิธีพิเศษ ในอุณหภูมิควบคุมประมาณ 60-90 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาประมาณ 40-90 วัน กระบวนการเหล่านี้ทำให้กระเทียมมีสีดำ และเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับกระเทียมได้มากขึ้น

กระเทียมดำ มีความพิเศษอย่างไร

   กระเทียมดำ ถือเป็นอาหารพิเศษราคาแพง เป็นที่รู้จักกันดีในครัว และวงการแพทย์ของเกาหลี ญี่ปุ่น และจีน (ยิ่งเป็นแบบออร์แกนิก จะยิ่งเป็นที่นิยมมากขึ้น) ต่อมาได้ถูกนำเข้ามาในสเปน จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและนิยมบริโภคในเวลาไม่กี่ปีมานี้ โดยถูกนำไปปรุงอาหารสเปนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหมักดอง น้ำซอส แกง เนื้อสัตว์เคี่ยว หรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง และจากนั้นได้ขยายความนิยมไปยังยุโรป รวมถึงเยอรมนี
   กระเทียมดำ โด่งดังในฐานะเป็นสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการต่างๆ ในวงการแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะที่ประเทศเยอรมนี นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มีการเผยแพร่งานวิจัยของแพทย์ทางอายุรกรรม มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับกระเทียมดำในทางการแพทย์ธรรมชาติต่อการรักษาโรคหลายแขนงและการบำบัดรักษาอาการปวด ซึ่งพบว่ากระเทียมดำได้มีส่วนช่วยรักษาโรค และทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคดีขึ้น โดยได้มีการเผยแพร่บทความและงานวิจัยการเพิ่มมากขึ้น ทำให้กระเทียมดำเป็นที่รู้จัก และต้องการมากขึ้น

ประโยชน์ของ กระเทียมดำ

  1. กระเทียมดำอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะวิตามินซี ซีลีเนียม และโพแทสเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติดีกว่ากระเทียมสด
  2. ลดไขมัน และคอเลสเตอรอลในเลือด
  3. ลดความดันโลหิต
  4. ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  5. ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
  6. ต่อต้านโรคภูมิแพ้
  7. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
  8. มีสารกาบ้า (Gaba) ที่ช่วยบำรุงสมอง
  9. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่าย
  10. เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

วิธีทานกระเทียมดำ เพื่อสุขภาพ

   สามารถทานกระเทียมดำเป็นหัวๆ ได้เลย หรือจะนำกระเทียมดำมาปรุงอาหารต่างๆ ก็ได้ หากทานกระเทียมดำเพื่อบำรุงสุขภาพทั่วไป ให้ทานวันละ 1 ครั้ง 3-4 หัวในตอนเช้าขณะท้องว่าง หรือทาน 6-8 หัวเพื่อช่วยลดความดันโลหิต ลดอาการของโรคเบาหวาน ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม