โรคมือจีบ (หอบจากอารมณ์) เครียดสะสม กดดันหนัก ๆ ระวังชักเกร็ง





  โรคมือจีบ คืออะไร

          โรคมือจีบ หรือโรคหอบทางอารมณ์ ภาษาอังกฤษชื่อว่า Hyperventilation Syndrome คือ อาการหอบหายใจเร็ว จัดเป็นกลุ่มอาการหายใจเกิน จนก่อให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการทางร่างกายอย่างอาการชักเกร็ง มือจีบ หอบหายใจเร็ว แรง ลึก อยู่นาน โดยโรคมือจีบมักสัมพันธ์กับความกดดัน  ภาวะวิตกกังวล และความเครียดที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ก่อนหน้าจะมีความผิดปกติทางกายตามมา

โรคมือจีบ เกิดจากอะไร

          สาเหตุของโรคหอบหายใจทางอารมณ์ พบว่า ผู้ที่เกิดอาการมักจะมีภาวะกดดันทางจิตใจ รวมทั้งความเครียดทางอารมณ์ กระทั่งส่งผลให้ร่างกายขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากเกิน เกิดภาวะเลือดเป็นด่างและภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลาย ๆ ระบบพร้อมกัน

          ทั้งนี้ยังมักจะพบว่า ผู้ป่วยโรคมือจีบมีแนวโน้มในการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก แทนกะบังลมและกล้ามเนื้อท้อง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบ หายใจลึก หรือหายใจเร็ว อันส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจอีกด้วย
โรคมือจีบ อาการเป็นอย่างไร

          อาการของโรคหอบหายใจทางอารมณ์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหายใจหอบเร็ว หายใจลำบาก หอบ หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น บางรายมีอาการเกร็ง มือ-เท้าจีบเกร็ง และอาจพบอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือ ซึ่งนอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคมือจีบยังอาจแสดงอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บหน้าอก แน่นอึดอัดในหน้าอก หรือมีลมในท้อง มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แต่บางรายอาจแสดงอาการร้องเอะอะโวยวาย ดิ้นไปมา สับสน ประสาทหลอน หรือนอนแน่นิ่งคล้ายหมดสติ ทว่าบางรายก็มีอาการหลับตามิด ขมิบหนังตาแน่นได้เช่นกัน

          อย่างไรก็ตาม อาการของโรคหอบจากอารมณ์ มักจะเป็นการแสดงออกในเชิงประท้วง หรือเรียกร้องความสนใจหรือความเห็นใจจากคนรอบข้าง ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกใต้จิตสำนึกของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นโดยที่เจ้าตัวเองไม่รู้ตัวก็เป็นได้ 
โรคมือจีบ รักษาอย่างไร
          วิธีการรักษาโรคมือจีบ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยการดูแลให้ผู้ป่วยค่อย ๆ หายใจโดยใช้กะบังลมและกล้ามหน้าท้อง ซึ่งจะช่วยให้หายใจช้าลง อาการหอบที่เป็นก็จะทุเลาลงเช่นกัน 

          ทว่าหากผู้ป่วยไม่สามารถฝึกการหายใจได้ อาจรักษาโรคมือจีบด้วยการใช้กระดาษทำเป็นรูปกรวย (มีรู 0.5-1.0 เซนติเมตร ตรงปลายกรวย) หรือใช้ถุงกระดาษ (เจาะรูขนาดเดียวกัน) นำมาครอบปากกับจมูกของผู้ป่วยพอแน่น ให้ผู้ป่วยหายใจในกรวยหรือถุงกระดาษ หรืออาจใช้ผ้าห่มคลุมโปงให้ผู้ป่วยหายใจอยู่ภายในโปงนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยสูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปในร่างกายเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะช่วยแก้ไขภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าหายจีบเกร็งและอาการต่าง ๆ ทุเลาได้ โดยปกติมักจะได้ผลภายใน 10-15 นาที

โรคมือจีบ รักษาอย่างไร
          วิธีการรักษาโรคมือจีบ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยการดูแลให้ผู้ป่วยค่อย ๆ หายใจโดยใช้กะบังลมและกล้ามหน้าท้อง ซึ่งจะช่วยให้หายใจช้าลง อาการหอบที่เป็นก็จะทุเลาลงเช่นกัน 

          ทว่าหากผู้ป่วยไม่สามารถฝึกการหายใจได้ อาจรักษาโรคมือจีบด้วยการใช้กระดาษทำเป็นรูปกรวย (มีรู 0.5-1.0 เซนติเมตร ตรงปลายกรวย) หรือใช้ถุงกระดาษ (เจาะรูขนาดเดียวกัน) นำมาครอบปากกับจมูกของผู้ป่วยพอแน่น ให้ผู้ป่วยหายใจในกรวยหรือถุงกระดาษ หรืออาจใช้ผ้าห่มคลุมโปงให้ผู้ป่วยหายใจอยู่ภายในโปงนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยสูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปในร่างกายเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะช่วยแก้ไขภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าหายจีบเกร็งและอาการต่าง ๆ ทุเลาได้ โดยปกติมักจะได้ผลภายใน 10-15 นาที
โรคมือจีบ อันตรายถึงตายไหม

          โรคหอบจากอารมณ์ไม่อันตรายถึงตาย เนื่องจากเป็นอาการที่สัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจมากกว่าเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายล้วน ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้ป่วยสามารถฝึกพฤติกรรมการแสดงออกของตนเองได้ โดยต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วยก่อนว่า กลไกการเกิดอาการเป็นอย่างไร รวมทั้งให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าอาการนี้ไม่อันตรายถึงชีวิต สามารถทุเลาหรือลดความถี่การเกิดอาการมือจีบได้ด้วยการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

โรคมือจีบ ป้องกันอย่างไร
          ผู้ป่วยสามารถเข้ารับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเมื่อเกิดอาการ รวมทั้งวิธีรับมือและแก้ไขสาเหตุของความตึงเครียด และควรได้รับการดูแลด้านจิตใจ เพื่อให้ปรับตัวในการรับมือความตึงเครียดได้ดียิ่งขึ้น

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้วิธีการฝึกหายใจโดยใช้กะบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง (หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟ่บ) เพื่อช่วยให้การหายใจหอบทุเลาลง เสมือนเป็นการรู้เท่าทันร่างกายของตัวเองเมื่อเกิดอาการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้มากขึ้น รวมทั้งควรฝึกผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยการออกกำลังกาย การฝึกสมาธิ และเจริญสติ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม