โรคใคร่เด็ก อันตรายจากโรคจิตเภทที่เด็กๆ ควรเฝ้าระวัง
โรคใคร่เด็ก เป็นภัยเงียบที่แทรกอยู่ในสังคมไทย และแน่นอนว่าสร้างอันตรายต่อเด็กๆ เป็นอย่างมาก
เพราะเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอในเรื่องของการตัดสินใจ โดยเฉพาะในเรื่องของความรัก นอกจากนี้ การวางตัวของเด็กในปัจจุบันก็มาพร้อมความล่อแหลม ตั้งแต่พฤติกรรมการแต่งตัวที่บางทีก็โป๊เกินไป ซึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ของผู้ป่วยโรคใคร่เด็กได้ สำหรับ โรคใคร่เด็ก คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกัน ทำได้อย่างไรบ้าง เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลย
โรคใคร่เด็ก คืออะไร
โรคใคร่เด็ก (pedophilic disorder) คือ โรคทางจิตเภทชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศ ในบางรายอาจจะเป็นเพียงแค่การจินตนาการ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี เป็นโรคที่มีผลต่อปัญหาด้านการเข้าสังคมอย่างมากทีเดียว
สาเหตุของโรคใคร่เด็ก
สำหรับสาเหตุของโรคใคร่เด็ก สามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้
1.สื่อลามก
ผู้ป่วยบางราย อาจจะชื่นชอบการดูสื่อลามกอนาจารที่เป็นของเด็ก ซึ่งการดูสื่อลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็กบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดความหมกมุ่นในเรื่องทางเพศเกี่ยวกับเด็ก และบ่อยครั้งก็จะทำให้เกิดจินตนาการได้ตลอด
2.การเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะในช่วงวัยเด็กของผู้ชายบางรายอาจจะถูกเลี้ยงดูด้วยการกดดันมากจนเกินไป รวมถึงมีกฎระเบียบในการใช้ชีวิตมากเกินกว่าที่เด็กจะรับไหว จึงทำให้เด็กเกินความกดดัน เมื่อโตขึ้นมาจึงอยากที่จะเป็นผู้ควบคุมบ้าง เลยทำให้มีรสนิยมใคร่เด็กตามมา
3.การถูกทำร้าย
บางรายอาจจะถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการโดนทุบ ตี หรือแม้กระทั่งการบังคับต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ในอนาคตเด็กมีความเสี่ยงในการเป็นโรคใคร่เด็กได้ เพราะต้องการที่จะเป็นฝ่ายได้ควบคุมด้วยตนเอง หรือแม้แต่กระทั่งการถูกล่วงละเมิดทางเพศเอง ก็เป็นสาเหตุที่กลายเป็นปมฝังใจให้กับเด็ก และส่งผลทำให้เกิดโรคใคร่เด็กได้เช่นกัน
4.สังคม
มักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่บางราย เนื่องจากผู้ใหญ่มักจะมีสังคมในการทำงาน หรืออาจจะเป็นสังคมอื่นๆซึ่งเมื่ออยู่ในสังคมมากๆ ก็จะทำให้กลัวผู้คนรุ่นเดียวกัน เพราะส่วนใหญ่มักจะคอยเอาเปรียบ ดังนั้น จึงหันมาชอบเด็กมากกว่า เพราะไม่ได้น่ากลัวเท่ากับผู้ใหญ่
5.ความผิดปกติของยีน
โดยมีปัญหามาจากการที่ยีนเป็นพิษ (noxious factor) ซึ่งการที่ยีนจะเกิดภาวะความผิดปกติได้นั้น เป็นเพราะในช่วงระยะเวลาก่อนคลอดสิ่งแวดล้อมอาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ หรืออาหาร เป็นต้น โดยเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ผิดปกติ
อาการของโรคใคร่เด็ก
สำหรับอาการของโรคใคร่เด็ก ไม่ได้มีการแสดงออกทางร่างกายให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยอาการส่วนใหญ่จะแสดงออกผ่านทางความคิด และมีเพียงผู้ป่วยเท่านั้นที่จะทราบถึงความผิดปกติทางความคิดได้อย่างชัดเจน สำหรับรูปแบบความคิดที่นึกถึง คือ การจินตนาการว่าได้มีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และอย่างที่บอกว่าจะไม่มีการแสดงออกทางร่างกาย ดังนั้น จึงสามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป
การวินิจฉัยโรคใครเด็ก
การวินิจฉัยโรคใคร่เด็ก ผู้วินิจฉัยจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือต้องเป็นจิตแพทย์ โดยจะใช้การประเมินของ DSM-5 และ ICD-10 มาเป็นเกณฑ์หลักในการวินิจฉัย โดยทั้งสองเกณฑ์การประเมินสามารถที่จะอธิบายได้ ดังนี้
1.DSM-5 เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัย คือ
- พฤติกรรมหรือความต้องการ เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ
- การดูสิ่งที่มีแรงกระตุ้นทางเพศ
- พิจารณาจากอายุของผู้ป่วยที่มากกว่า 16 ปี หรือชอบคนที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
2.ICD-10 เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยที่มาจากองค์การอนามัยโลก โดยจะเรียก “โรคใคร่เด็ก” ว่า “ความต้องการทางเพศต่อเด็ก”
วิธีรักษาโรคใคร่เด็ก
การรักษาโรคใคร่เด็ก สามารถที่จะเลือกวิธีรักษาได้อย่างหลากหลาย ซึ่งก็มีวิธีในการรักษาดังนี้
1.ลดระดับฮอร์โมนเพศ
เป็นวิธีที่สามารถที่จะทำได้จริงสำหรับผู้ป่วย อย่างแรกสิ่งที่ได้ผลเลยก็คือ สามารถช่วยลดความต้องการทางเพศที่จะส่งผลต่อโรคใคร่เด็กได้ ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้น คือ ไม่เพียงแค่ลดความต้องการ แต่ยังสามารถช่วยลดความแข็งตัวของอวัยวะเพศของผู้ชาย โดยเป็นการลดฮอร์โมน medroxyprogesterone และ cyproterone ซึ่งวิธีที่ทำได้คือ การฉีด IM medroxyprogesterone acetate โดยใช้ระยะเวลาในการฉีดอยู่ที่ประมาณ 1-6 เดือน
2.เข้ารับการปรึกษา
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยผ่านการปรึกษาจากจิตแพทย์นั่นเอง ซึ่งรูปแบบการบำบัดจากจิตแพทย์ ก็มีดังนี้
- ให้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดกับเหยื่อ โดยมาจากผู้ป่วยโรคใคร่เด็กเป็นผู้กระทำ
- ฝึกป้องกันการกลับไปเสพสื่อลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็ก
- สร้างระบบเฝ้าระวังการเกิดโรคซ้ำ โดยอาจจะต้องใช้ครอบครัวเข้ามาเป็นตัวช่วยระวัง หรืออาจจะต้องเป็นคนสนิทที่ใกล้ชิดมากพอสมควร
- เทคนิคการดูแลโรคใคร่เด็กตลอดชีวิต
3.การบำบัดแบบ Aversive
สำหรับการบำบัด Aversive เป็นวิธีที่จะใช้สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นเชิงลบ เพื่อเป็นการรักษาโรคใคร่เด็กเช่น การให้ดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับโรคใคร่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบ หรือการกระทำ
4.การทำความเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคใคร่เด็ก เรื่องหนึ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นมักจะเข้าใจผิด คือ พฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก ว่าต้องการในการมีเพศสัมพันธ์ อย่างเช่น การแต่งกาย เพราะบางคนอาจจะใส่ขาสั้น ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กมักจะคิดว่าเด็กเหล่านั้นต้องการมีเพศสัมพันธ์ แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ควรจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กอย่างเข้าใจลึกซึ้งมากกว่านี้
5.การผ่าตัด
โรคใคร่เด็กสามารถใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดได้ โดยรูปแบบของการผ่าตัดคือ การผ่าตัดตอน หรือจะเรียกว่าการทำหมันนั่นเอง เพราะการทำหมันจะช่วยลดอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการทางเพศลงไปได้มาก
วิธีป้องกันโรคใคร่เด็ก
สำหรับวิธีป้องกันโรคใคร่เด็กในผู้ใหญ่นั้นยังไม่มีวิธีที่สามารถจะทำได้ สำหรับทางแก้ของผู้ใหญ่สิ่งที่สามารถจะทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงสื่อลามกอนาจาร นอกจากนี้ ก็ยังมีวิธีที่เด็กสามารถนำไปใช้ เพื่อการลดความเสี่ยงในการพบเจอกับผู้ที่เป็นโรคใคร่เด็กลงได้อีกด้วย โดยควรปฏิบัติดังนี้
- ควรเรียนรู้ว่าอวัยวะใดบ้างที่เป็นของสงวน และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัส
- ระมัดระวังการใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ควรจะโพสต์สิ่งล่อแหลม หรือพูดคุยกับผู้อื่นในทางลามกอนาจาร
- การแต่งกาย ควรที่จะให้เหมาะสมกับวัย ไม่ควรโป๊มากเกินไป
โรคใคร่เด็ก เป็นโรคที่ไม่ใช่แค่จะต้องระวังผู้ป่วยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรที่จะต้องระมัดระวังเด็กๆ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงอันตรายมากจนเกินไป และควรวางตัวให้ดี ไม่ควรปล่อยตัวให้ใครแตะต้องหรือสัมผัสกับของสงวนได้ง่าย ตลอดจนการแต่งกายที่ไม่ล่อแหลมเพื่อเป็นสิ่งเย้ายวนใจต่อผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก อีกทั้งในผู้ป่วยเอง เมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็ควรพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาจะดีที่สุด
ไม่ว่าจะป่วยหนัก ป่วยเบา ฯลฯ พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาป่วยได้ ปีละไม่เกิน 120 วันทำการ โดยยังได้รับเงินเดือนตามปกติ ซึ่งไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาตให้ลาป่วย แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ
ตอบลบ