6 สัญญาณอันตราย ก่อน “ไหลตาย”
อาการ “ไหลตาย” แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่ก็ยังพบได้เรื่อยๆ และไม่ได้พบแค่กับผู้สูงอายุ กับคนอายุยังหนุ่มสาวก็ยังสามารถเจอได้ เพราะจริงๆ แล้ว อาการไหลตายไม่ได้เป็นอาการผิดปกติธรรมดาๆ แต่เป็นโรคอันตรายที่ใครๆ ก็รู้จัก นั่นคือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน นั่นเอง
สาเหตุของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย
โรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในบางรายอาจมีสุขภาพปกติ แข็งแรง แต่อยู่ๆ ก็กลับมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย
อาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยมักเสียชีวิตฉับพลันในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรงและไม่เคยป่วยมาก่อน ในประเทศไทยมักพบเจอบ่อยในภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลาง ช่วงอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 30-50 ปี ที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่ รับรู้ของคนทั่วไป และผู้ป่วยมักเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและสังคม ดังนั้น หากอยู่ๆ เสียชีวิตไป จะทำให้มีปัญหากับคนที่อยู่ข้างหลังได้
สัญญาณอันตรายของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
- เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
- อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
- วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
- ใจหวิวๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย
- เหงื่อแตก
- อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
- เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง
- สูบบุหรี่
- มีอาการนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น