ทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ วิธีรักษาโรคหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัด กลับบ้านได้ในวันเดียว
การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ คืออะไร
การทำบอลลูนหัวใจ (percutaneous transluminal coronary Angioplasty : PTCA) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้เครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ สอดสวนเข้าไปในเส้นเลือดเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบให้มีขนาดกว้างขึ้น เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ทำบอลลูนหัวใจจะเป็นปลายท่อขนาดเล็กมีบอลลูนติดอยู่ตรงส่วนปลาย เมื่อเครื่องมือไปถึงจุดที่ต้องการขยายหลอดเลือดแล้วแพทย์ก็จะปล่อยลมให้บอลลูนพองตัวขึ้น จากนั้นก็จะทำการสอดลวด (stent) ไว้ในตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบแคบ เพื่อค้ำโครงเส้นเลือดให้มีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจสามารถทำได้ 2 จุดหลัก คือ ทำบอลลูนหัวใจบริเวณขาหนีบ และทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือ โดยการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือ (Radial Artery) คือการสวนหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ซึ่งเป็นจุดที่เส้นเลือดมีขนาดเล็ก ตื้น ส่งผลให้ควบคุมการไหลของโลหิตได้ง่ายกว่าบริเวณขาหนีบซึ่งมีหลอดเลือดขนาดใหญ่ ทว่าการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญการของแพทย์ค่อนข้างมาก
การทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือ ทำอย่างไร
หลังจากยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว แพทย์จะทำการใส่สายสวนขนาดเล็กผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือย้อนขึ้นไปที่หัวใจ พร้อมทั้งฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจลักษณะของหลอดเลือด ซึ่งหากพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ลูกโป่งขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่าการทำบอลลูนหัวใจนั่นเองค่ะ
การทำบอลลูนหัวใจ อันตรายไหม
การทำบอลลูนหัวใจหรือการสวนหัวใจเป็นการรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ทั้งยังสามารถรักษาผู้ป่วยได้ในขณะที่หัวใจเต้น ที่สำคัญการทำบอลลูนหัวใจยังมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าตรวจพบว่าคนไข้มีหลอดเลือดตีบตัน แพทย์จะแนะนำให้ทำบอลลูนหัวใจกว่า 90% ยกเว้นในเคสที่มีรอยโรคมาก หรือต้องทำบอลลูนหัวใจหลายจุด แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดบายพาสแทน
การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ดีกว่ายังไง
อย่างที่บอกว่าข้อมือเป็นบริเวณที่เห็นเส้นเลือดได้ชัดเจน เนื่องจากเส้นเลือดอยู่บริเวณตื้นกว่าขาหนีบ อีกทั้งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือก็จะสะดวกกับคนไข้กว่ามาก ที่สำคัญการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนอนเหยียดขาตรงหลาย ๆ ชั่วโมงเหมือนการทำบอลลูนหัวใจผ่านขาหนีบ หลังการตรวจรักษาก็สามารถลุกเข้าห้องน้ำ หรือนั่งรับประทานอาหารได้ตามปกติ ทำให้ระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลง สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ภายในไม่กี่วัน หรือบางคนไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นด้วยซ้ำนะคะ ทำบอลลูนเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงเลย
นอกจากนี้การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือยังมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการทำบอลลูนหัวใจที่ขาหนีบมาก เพราะการที่เส้นเลือดมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ผิวหนังมากกว่าทำให้สามารถควบคุมการหยุดเลือดได้ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับการทำบอลลูนหัวใจบริเวณขาหนีบซึ่งอาจต้องให้เลือดในกรณีที่เสียเลือดมาก เป็นต้น
การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ดีกว่ายังไง
อย่างที่บอกว่าข้อมือเป็นบริเวณที่เห็นเส้นเลือดได้ชัดเจน เนื่องจากเส้นเลือดอยู่บริเวณตื้นกว่าขาหนีบ อีกทั้งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือก็จะสะดวกกับคนไข้กว่ามาก ที่สำคัญการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนอนเหยียดขาตรงหลาย ๆ ชั่วโมงเหมือนการทำบอลลูนหัวใจผ่านขาหนีบ หลังการตรวจรักษาก็สามารถลุกเข้าห้องน้ำ หรือนั่งรับประทานอาหารได้ตามปกติ ทำให้ระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลง สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ภายในไม่กี่วัน หรือบางคนไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นด้วยซ้ำนะคะ ทำบอลลูนเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงเลย
นอกจากนี้การทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือยังมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการทำบอลลูนหัวใจที่ขาหนีบมาก เพราะการที่เส้นเลือดมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ผิวหนังมากกว่าทำให้สามารถควบคุมการหยุดเลือดได้ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับการทำบอลลูนหัวใจบริเวณขาหนีบซึ่งอาจต้องให้เลือดในกรณีที่เสียเลือดมาก เป็นต้น
ทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ควรดูแลตัวเองอย่างไร
หลังจากเข้ารับการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือไปแล้ว และได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้ป่วยควรดูแลและปฏิบัติตัวตามนี้
- ห้ามให้ตำแหน่งที่ทำบอลลูนโดนน้ำ อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
- ห้ามยกของหนัก
- ห้ามใช้แรงกับมือข้างที่ทำบอลลูน
- ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะการว่ายน้ำ
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-5 วัน หรือตามแพทย์สั่ง
- หากมีแผลจากการลงมีดก่อนสวนสาย ควรระมัดระวังเรื่องการทำแผลและการติดเชื้อให้ดี
- สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 2-3 วันหลังการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ทว่าพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ โดยเฉพาะการออกแรงที่ข้อมือ
- หลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลสูง รวมทั้งชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ห้ามให้ตำแหน่งที่ทำบอลลูนโดนน้ำ อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
- ห้ามยกของหนัก
- ห้ามใช้แรงกับมือข้างที่ทำบอลลูน
- ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะการว่ายน้ำ
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-5 วัน หรือตามแพทย์สั่ง
- หากมีแผลจากการลงมีดก่อนสวนสาย ควรระมัดระวังเรื่องการทำแผลและการติดเชื้อให้ดี
- สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 2-3 วันหลังการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ทว่าพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ โดยเฉพาะการออกแรงที่ข้อมือ
- หลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลสูง รวมทั้งชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือ ที่ไหนดี
ปัจจุบันการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือสามารถทำได้หลายโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐ อย่างโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นต้น
ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีตั้งแต่โรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเวชธานี โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งสามารถโทร. ไปสอบถามการบริการกับทางโรงพยาบาลโดยตรงเลยค่ะ
ทำบอลลูนหัวใจ ราคาเท่าไร
ค่าใช้จ่ายในการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยราคาทำบอลลูนหัวใจในโรงพยาบาลรัฐบาล อาจเริ่มต้นแค่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือในโรงพยาบาลเอกชนจะเริ่มต้นที่ 100,000-300,000 บาท แล้วแต่โรงพยาบาลและอาการของคนไข้เองด้วยค่ะ
ทำบอลลูนหัวใจ หายขาดไหม
การทำบอลลูนหัวใจเป็นวิธีแก้ปัญหาหลอดเลือดตีบตันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองก็อาจกลับมาเป็นซ้ำและต้องทำบอลลูนหัวใจซ้ำอีกครั้งได้ โดยหากกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยจะเลือกทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือซ้ำมากถึง 90% เลยทีเดียวค่ะ
ปัจจุบันการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือสามารถทำได้หลายโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐ อย่างโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นต้น
ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีตั้งแต่โรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเวชธานี โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งสามารถโทร. ไปสอบถามการบริการกับทางโรงพยาบาลโดยตรงเลยค่ะ
ทำบอลลูนหัวใจ ราคาเท่าไร
ค่าใช้จ่ายในการทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยราคาทำบอลลูนหัวใจในโรงพยาบาลรัฐบาล อาจเริ่มต้นแค่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำบอลลูนหัวใจทางข้อมือในโรงพยาบาลเอกชนจะเริ่มต้นที่ 100,000-300,000 บาท แล้วแต่โรงพยาบาลและอาการของคนไข้เองด้วยค่ะ
ทำบอลลูนหัวใจ หายขาดไหม
การทำบอลลูนหัวใจเป็นวิธีแก้ปัญหาหลอดเลือดตีบตันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองก็อาจกลับมาเป็นซ้ำและต้องทำบอลลูนหัวใจซ้ำอีกครั้งได้ โดยหากกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยจะเลือกทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือซ้ำมากถึง 90% เลยทีเดียวค่ะ
วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ถ้าไม่อยากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจนต้องทำบอลลูนหัวใจ ก็ควรปฏิบัติตัวตามนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยนะคะ
1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ งดของทอด หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
3. พยายามอย่าเครียด และทำจิตใจให้แจ่มใส มีสุขภาพจิตที่ดี
4. ควรตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
5. หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง เช่น มีอาการใจสั่นบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
6. งดสูบบุหรี่
อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพตัวเองให้ไม่ป่วยไข้ด้วยโรคอะไรง่าย ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่หากเกิดโรคขึ้นกับตัวเองแล้ว การรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการและความต่อเนื่องในการรักษาเป็นสิ่งที่สำคัญนะคะ ยังไงก็ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่เรารักกันด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น