เส้นเลือดปูดที่ขมับ สัญญาณโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ รักษาไม่ทันเสี่ยงตาบอด
เส้นเลือดปูดที่ขมับ ปวดศีรษะเป็นประจำ ระวังโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ ที่หากไม่รีบสังเกตอาการตัวเอง ปล่อยให้ปวดหัวเรื้อรัง อาจร้ายแรงถึงขั้นตาบอดหรือเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้เลย
อาการปวดศีรษะอาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในชีวิตเรา แต่อาการปวดหัวก็ใช่ว่าจะเป็นภาวะที่ควรจะละเลยซะเมื่อไร เพราะอาการปวดศีรษะบางชนิดมีความรุนแรง ก่อให้เกิดอาการปวดหัวหนักมาก และหากรักษาไม่ทันกาลก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้เช่นกัน อย่างโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ ที่ชื่อโรคอาจไม่คุ้นหู ทว่าอาการเส้นเลือดปูดที่ขมับอาจคุ้นตากันมาบ้าง ดังนั้นเพื่อความกระจ่างชัด เรามาทำความรู้จักอาการโรคหลอดเลือดสมองอักเสบ หรืออาการปวดหัวบริเวณขมับรุนแรงมากไว้บ้างดีกว่าค่ะ
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ คืออะไร
เพราะชื่อโรคที่ไม่คุ้นอาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัยได้ว่า โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ คือโรคอะไรกันแน่ ซึ่งจริง ๆ แล้วโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ (Temporal arteritis) ก็คือ การอักเสบของหลอดเลือดแดงส่วนนอกสมอง (หลอดเลือดบริเวณขมับ) ที่ทำให้เลือดลำเลียงมายังเส้นเลือดแดงส่วนขมับเหล่านี้ได้ยาก ก่อให้เกิดอาการปวดหัว ปวดขมับตื้อ ๆ ซึ่งการอักเสบของหลอดเลือดขมับดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อชนิดใดด้วยนะคะ ทว่าทางการแพทย์ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เช่นกัน ว่าสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดโรคหลอดเลือดขมับอักเสบนั้นเกิดจากอะไรกันแน่
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ สาเหตุคืออะไร
อย่างที่บอกไปค่ะว่าโรคหลอดเลือดขมับอักเสบยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่ในวงการแพทย์เขาก็สันนิษฐานกันไว้ว่า โรคหลอดเลือดขมับอักเสบอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของหลอดเลือดเหล่านี้ทำงานผิดปกติไปก็เป็นได้
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
นอกจากอาการภายนอกที่สังเกตเห็นได้ง่ายอย่างเส้นเลือดปูดที่ขมับแล้ว อาการโรคหลอดเลือดสมองยังมีจุดที่น่าสังเกตดังนี้
- ปวดหัวรุนแรงบริเวณขมับ มักจะปวดขมับที่ข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าจะปวดทั้งสองข้าง
- อาการปวดหัวแบบนี้มักจะเกิดขึ้นครั้งแรก ไม่เคยปวดรุนแรงบริเวณขมับมาก่อนในชีวิต
- ปวดหัวตรงขมับ อาการปวดจะลามไปตามแนวเส้นเลือดด้วย
- เส้นเลือดที่ปูดบริเวณขมับมีอาการแข็งเป็นลำ ปูดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ร่วมกับกดแล้วเจ็บ
- ปวดหัวบริเวณขมับเมื่อเคี้ยวอาหาร ลามไปปวดบริเวณกรามและลิ้น
- ปวดหัวร้าวไปปวดตา มีอาการตามัว มองเห็นไม่ชัดเวลารู้สึกปวด โดยเฉพาะอาการมองเห็นไม่ชัดข้างเดียว
- มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ปวดเนื้อปวดตัว
อาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นกับวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะโดยด่วน แม้จะแค่รู้สึกปวดหัวบริเวณขมับเพียงอาการเดียวก็ตาม เนื่องจากโรคหลอดเลือดขมับอักเสบพบได้บ่อยในกลุ่มวัยกลางคนนั่นเองค่ะ
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบอันตรายแค่ไหน
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบอาจดูเป็นอาการปวดหัวที่ไม่รุนแรงหนักถึงขั้นปวดจนต้องร้องขอชีวิต ทว่าอันตรายที่ต้องระวังมาก ๆ ของโรคนี้คืออาการแทรกซ้อนอย่างอาการตาบอด เนื่องจากโรคนี้อาจทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงประสาทตาเกิดอาการอักเสบด้วย จึงทำให้เสี่ยงตาบอดได้ หรือหากปล่อยอาการไว้ไม่รีบทำการรักษา อาการอักเสบก็อาจลามไปยังหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคอัมพาต หรืออาจเกิดอาการอักเสบลามไปที่หลอดเลือดแดงขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นกัน
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ รักษาอย่างไร
การรักษาโรคหลอดเลือดขมับอักเสบไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ในขั้นตอนการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจผ่าตัดเอาเส้นเลือดบริเวณขมับไปตรวจเพื่อความแน่ใจอีกทีก็เป็นได้ ทว่าแนวทางการรักษาตามปกติแล้ว แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์หรือยาในกลุ่มกดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ภาวะอักเสบในหลอดเลือดลดน้อยลง ร่วมกับตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับขนาดยา
แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ได้ เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคกระดูกอักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ควรต้องระวัง
การรักษาโรคหลอดเลือดขมับอักเสบไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ในขั้นตอนการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจผ่าตัดเอาเส้นเลือดบริเวณขมับไปตรวจเพื่อความแน่ใจอีกทีก็เป็นได้ ทว่าแนวทางการรักษาตามปกติแล้ว แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์หรือยาในกลุ่มกดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ภาวะอักเสบในหลอดเลือดลดน้อยลง ร่วมกับตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับขนาดยา
แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ได้ เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคกระดูกอักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ควรต้องระวัง
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบจะหายขาดไหม
ถ้าหากรู้ทันโรคและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ไม่ยากค่ะ โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเช็กการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเพื่อปรับขนาดของยาตามความเหมาะสม จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะเบาบางลงถึงขั้นหายขาดไป แพทย์จึงจะสั่งหยุดยา และนั่นก็หมายความว่าอาการของโรคหลอดเลือดขมับอักเสบหายขาดแล้ว
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ ป้องกันได้ไหม
เป็นที่น่าเสียดายว่าโรคนี้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ เนื่องจากเราไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดได้นั่นเองค่ะ
ถ้าหากรู้ทันโรคและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ไม่ยากค่ะ โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเช็กการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเพื่อปรับขนาดของยาตามความเหมาะสม จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะเบาบางลงถึงขั้นหายขาดไป แพทย์จึงจะสั่งหยุดยา และนั่นก็หมายความว่าอาการของโรคหลอดเลือดขมับอักเสบหายขาดแล้ว
โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ ป้องกันได้ไหม
เป็นที่น่าเสียดายว่าโรคนี้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ เนื่องจากเราไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดได้นั่นเองค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น