มือลั่น สบถคำหยาบบ่อยครั้งไม่ได้ตั้งใจ เช็กอาการให้ไวว่าไม่ได้ป่วยโรคทูเร็ตต์
โรคทูเร็ตต์ คืออะไร
โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s Disorder) หรือโรคทูเร็ตต์ ซินโดรม ถูกวินิจฉัยครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1885 โดยแพทย์ชาวฝรั่งเศสนามว่า Georges Albert Édouard Brutus Gilles de la Tourette ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งชื่อภาวะความผิดปกติดังกล่าวว่า โรคทูเร็ตต์ เพื่อเป็นการให้เกียรตินายแพทย์ผู้พบโรคนี้เป็นคนแรกของโลก
โดยโรคทูเร็ตต์ คือ โรคที่แสดงอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัดพร้อม ๆ กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการเปล่งเสียงออกมาจากลำคอหรือจมูกแบบทันทีทันใดในลักษณะซ้ำ ๆ โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเองโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมผิดปกตินั้นได้
ทั้งนี้รายงานทางการแพทย์พบว่า นายแพทย์ Tourette อธิบายความผิดปกติของผู้ป่วยไว้ว่า ผู้ป่วยมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ เปล่งเสียงหยาบคาย และพูดทวนคำ ซึ่ง ณ ตอนนั้น ทีมแพทย์ได้วินิจฉัยอาการผิดปกตินี้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาท (Neurodevelopmental Disorders)
โรคทูเร็ตต์ สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคทูเร็ตต์ที่แท้จริงได้ มีเพียงหลักฐานทางการแพทย์ที่พบว่า โรคทูเร็ตต์มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม แต่ก็ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งยีนที่ผิดปกติได้ เพราะผู้ที่มียีนผิดปกติก็ไม่ได้แสดงอาการของโรคทูเร็ตต์ทุกราย ทว่าส่วนมากแพทย์จะตรวจพบความผิดปกติในบางตำแหน่งของสมอง อันได้แก่ สมองส่วนธาลามัส (Thalamus) สมองส่วนเบซัลแกงเกลีย (Basal ganglia) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และสมองส่วนนอกกลีบหน้า (Frontal cortex) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ และบุคลิกของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบว่า สาเหตุของโรคทูเร็ตต์อาจมาจากการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะสารเคมีสื่อประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีการกระตุ้นเซลล์ข้างเคียงมากเกินไปอีกด้วย
โรคทูเร็ตต์ใครเสี่ยงเป็นบ้าง
โรคทูเร็ตต์จะพบมากในเด็กวัยเรียน โดยพบโรคนี้ได้ประมาณร้อยละ 1-3.8 ในเด็กช่วงอายุ 5 ขวบ -18 ปี และมักจะพบว่าเด็กผู้ชายมีอาการมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 2 เท่า ซึ่งจะสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 7-10 ขวบ หรือพบอาการโรคทูเร็ตต์มากขึ้นในช่วงวัยรุ่น และอาการจะเบาลงเมื่อเริ่มเป็นผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม จากรายงานไม่พบว่าอาการของโรคทูเร็ตต์ส่งผลให้ระดับสติปัญญาลดลง แต่กลับพบว่า มากกว่าร้อยละ 85 ผู้ป่วยโรคทูเร็ตต์จะมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล รวมไปถึงปัญหาการนอนหลับ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (โรคแอลดี) และโรคทางอารมณ์
ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคทูเร็ตต์ที่แท้จริงได้ มีเพียงหลักฐานทางการแพทย์ที่พบว่า โรคทูเร็ตต์มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม แต่ก็ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งยีนที่ผิดปกติได้ เพราะผู้ที่มียีนผิดปกติก็ไม่ได้แสดงอาการของโรคทูเร็ตต์ทุกราย ทว่าส่วนมากแพทย์จะตรวจพบความผิดปกติในบางตำแหน่งของสมอง อันได้แก่ สมองส่วนธาลามัส (Thalamus) สมองส่วนเบซัลแกงเกลีย (Basal ganglia) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และสมองส่วนนอกกลีบหน้า (Frontal cortex) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ และบุคลิกของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบว่า สาเหตุของโรคทูเร็ตต์อาจมาจากการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะสารเคมีสื่อประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีการกระตุ้นเซลล์ข้างเคียงมากเกินไปอีกด้วย
โรคทูเร็ตต์ใครเสี่ยงเป็นบ้าง
โรคทูเร็ตต์จะพบมากในเด็กวัยเรียน โดยพบโรคนี้ได้ประมาณร้อยละ 1-3.8 ในเด็กช่วงอายุ 5 ขวบ -18 ปี และมักจะพบว่าเด็กผู้ชายมีอาการมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 2 เท่า ซึ่งจะสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 7-10 ขวบ หรือพบอาการโรคทูเร็ตต์มากขึ้นในช่วงวัยรุ่น และอาการจะเบาลงเมื่อเริ่มเป็นผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม จากรายงานไม่พบว่าอาการของโรคทูเร็ตต์ส่งผลให้ระดับสติปัญญาลดลง แต่กลับพบว่า มากกว่าร้อยละ 85 ผู้ป่วยโรคทูเร็ตต์จะมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล รวมไปถึงปัญหาการนอนหลับ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (โรคแอลดี) และโรคทางอารมณ์
โรคทูเร็ตต์ อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรคทูเร็ตต์มีหลายระดับความรุนแรงด้วยกัน ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไปจนถึงอาการหนักมาก ๆ โดยสามารถไล่เรียงอาการที่พบบ่อยได้ดังนี้
- ระดับสังเกตเห็นอาการเพียงเล็กน้อย
มักจะพบครั้งแรกบริเวณใบหน้า เช่น ตาขยิบ หน้าขมุบขมิบ เป็นต้น
- ระดับอาการที่สังเกตเห็นได้ชัด
ในด้านการเคลื่อนไหว (Motor Tic) อาจสังเกตเห็นอาการบิดคอ ยักไหล่ สะบัดมือ ต่อย เตะ กระโดด เป็นต้น
ส่วนในด้านการส่งเสียง (Vocal Tic) จะมีอาการตั้งแต่เปล่งเสียงขากเสลด ทำเสียงฟึดฟัดคัดจมูก ไอกระแอม เสียงคราง เสียงเห่า จนถึงการสบถคำหยาบคายต่าง ๆ โดยอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ อาจเป็นได้หลายครั้งใน 1 วัน หรืออาการสงบไปหลายวันแล้วกลับมาเป็นใหม่ และอาการอาจมีการเปลี่ยนลักษณะไปเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา โดยแนวโน้มของอาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ได้สังเกตหรือใส่ใจในพฤติกรรมผิดปกติดังกล่าว อาจละเลยการพบแพทย์ ทำให้ขาดการบำบัดรักษาที่ถูกวิธี
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคทูเร็ตต์
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทูเร็ตต์ แพทย์จะดูว่ามีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ซึ่งต้องมีอาการมากกว่า 1 อย่างขึ้นไป ร่วมกับมีอาการผิดปกติทางการส่งเสียงอย่างน้อย 1 อาการ โดยไม่จำเป็นต้องเกิดอาการพร้อม ๆ กัน แต่ต้องมีอาการบ่อยแบบเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องนานมากกว่า 1 ปี โดยไม่มีช่วงที่อาการสงบเกิน 3 เดือน
นอกจากนี้แพทย์จะวินิจฉัยด้วยว่ามีอาการ Tic ก่อนอายุ 18 ปี โดยไม่ได้เกิดจากสารกระตุ้น เช่น ยาเสพติด หรือโรคทางสมองอื่น ๆ อย่างโรคไข้สมองอักเสบ หรือโรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางสมองโรคหนึ่ง
อาการของโรคทูเร็ตต์มีหลายระดับความรุนแรงด้วยกัน ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไปจนถึงอาการหนักมาก ๆ โดยสามารถไล่เรียงอาการที่พบบ่อยได้ดังนี้
- ระดับสังเกตเห็นอาการเพียงเล็กน้อย
มักจะพบครั้งแรกบริเวณใบหน้า เช่น ตาขยิบ หน้าขมุบขมิบ เป็นต้น
- ระดับอาการที่สังเกตเห็นได้ชัด
ในด้านการเคลื่อนไหว (Motor Tic) อาจสังเกตเห็นอาการบิดคอ ยักไหล่ สะบัดมือ ต่อย เตะ กระโดด เป็นต้น
ส่วนในด้านการส่งเสียง (Vocal Tic) จะมีอาการตั้งแต่เปล่งเสียงขากเสลด ทำเสียงฟึดฟัดคัดจมูก ไอกระแอม เสียงคราง เสียงเห่า จนถึงการสบถคำหยาบคายต่าง ๆ โดยอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ อาจเป็นได้หลายครั้งใน 1 วัน หรืออาการสงบไปหลายวันแล้วกลับมาเป็นใหม่ และอาการอาจมีการเปลี่ยนลักษณะไปเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา โดยแนวโน้มของอาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ได้สังเกตหรือใส่ใจในพฤติกรรมผิดปกติดังกล่าว อาจละเลยการพบแพทย์ ทำให้ขาดการบำบัดรักษาที่ถูกวิธี
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคทูเร็ตต์
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทูเร็ตต์ แพทย์จะดูว่ามีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ซึ่งต้องมีอาการมากกว่า 1 อย่างขึ้นไป ร่วมกับมีอาการผิดปกติทางการส่งเสียงอย่างน้อย 1 อาการ โดยไม่จำเป็นต้องเกิดอาการพร้อม ๆ กัน แต่ต้องมีอาการบ่อยแบบเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องนานมากกว่า 1 ปี โดยไม่มีช่วงที่อาการสงบเกิน 3 เดือน
นอกจากนี้แพทย์จะวินิจฉัยด้วยว่ามีอาการ Tic ก่อนอายุ 18 ปี โดยไม่ได้เกิดจากสารกระตุ้น เช่น ยาเสพติด หรือโรคทางสมองอื่น ๆ อย่างโรคไข้สมองอักเสบ หรือโรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางสมองโรคหนึ่ง
โรคทูเร็ตต์รักษาได้ไหม
การรักษาโรคทูเร็ตต์สามารถรักษาด้วยยาและด้วยการบำบัดทางพฤติกรรม โดยใช้หลักจิตวิทยามาช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ ช่วยให้เขาไม่รู้สึกแปลกแยก และให้เขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยมุ่งเน้นการลดความถี่ของอาการ Tic ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ในคนที่มีอาการมาก ๆ หรือมีภาวะโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย
ทว่าหลักสำคัญของการรักษาโรคทูเร็ตต์จำเป็นต้องใช้กำลังใจทั้งจากตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง รวมไปถึงความเข้าใจในโรคที่เขาเป็นอยู่ ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ล้อเลียน ให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย เครียด เสียใจ ซึ่งอาจกระทบให้อาการ Tic มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
เมื่อเป็นโรคทูเร็ตต์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- พยายามไม่กังวลกับอาการของตัวเอง
- พยายามไม่เครียด และควรหาวิธีรีแลกซ์ตัวเองด้วยกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน หรือน้อย เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อาการ Tic กำริบมากขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ต้องใช้สมาธิ เช่น โยคะ หรือกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม กีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอด ๆ ซึ่งจะช่วยให้หายกังวลกับความผิดปกติของตัวเองได้
- พยายามเข้าใจและรู้จักตัวเองให้มากที่สุด โดยควรสังเกตว่าตัวเองสามารถระงับอาการ Tic ได้ด้วยวิธีไหน หรือต้องใช้วิธีไหนเพื่อหยุดอาการ Tic ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนรอบข้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่อาจโดนเพื่อน ๆ ล้อเลียน หรือโดนเพื่อน ๆ แกล้ง เคสนี้ผู้ปกครองควรสอนวิธีรับมือ หรือทางที่ดีควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบถึงโรคที่เขาเป็น หรือหากผู้ป่วยยังเป็นเด็กวัยกำลังเรียนรู้ ผู้ปกครองควรรีบสังเกตอาการผิดปกติของเขา และพาไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางบำบัดรักษา นอกจากนี้ก็ควรให้เขาได้ออกสังคมบ่อย ๆ เพื่อให้เขาปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ได้อย่างปกติ
การรักษาโรคทูเร็ตต์สามารถรักษาด้วยยาและด้วยการบำบัดทางพฤติกรรม โดยใช้หลักจิตวิทยามาช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ ช่วยให้เขาไม่รู้สึกแปลกแยก และให้เขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยมุ่งเน้นการลดความถี่ของอาการ Tic ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ในคนที่มีอาการมาก ๆ หรือมีภาวะโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย
ทว่าหลักสำคัญของการรักษาโรคทูเร็ตต์จำเป็นต้องใช้กำลังใจทั้งจากตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง รวมไปถึงความเข้าใจในโรคที่เขาเป็นอยู่ ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ล้อเลียน ให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย เครียด เสียใจ ซึ่งอาจกระทบให้อาการ Tic มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
เมื่อเป็นโรคทูเร็ตต์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- พยายามไม่กังวลกับอาการของตัวเอง
- พยายามไม่เครียด และควรหาวิธีรีแลกซ์ตัวเองด้วยกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน หรือน้อย เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อาการ Tic กำริบมากขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ต้องใช้สมาธิ เช่น โยคะ หรือกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม กีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอด ๆ ซึ่งจะช่วยให้หายกังวลกับความผิดปกติของตัวเองได้
- พยายามเข้าใจและรู้จักตัวเองให้มากที่สุด โดยควรสังเกตว่าตัวเองสามารถระงับอาการ Tic ได้ด้วยวิธีไหน หรือต้องใช้วิธีไหนเพื่อหยุดอาการ Tic ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนรอบข้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่อาจโดนเพื่อน ๆ ล้อเลียน หรือโดนเพื่อน ๆ แกล้ง เคสนี้ผู้ปกครองควรสอนวิธีรับมือ หรือทางที่ดีควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบถึงโรคที่เขาเป็น หรือหากผู้ป่วยยังเป็นเด็กวัยกำลังเรียนรู้ ผู้ปกครองควรรีบสังเกตอาการผิดปกติของเขา และพาไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางบำบัดรักษา นอกจากนี้ก็ควรให้เขาได้ออกสังคมบ่อย ๆ เพื่อให้เขาปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ได้อย่างปกติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น