เตือน! “โรคลีเจียนแนร์” นักท่องเที่ยวเสี่ยงติดเชื้อจากโรงแรม-ที่พัก




โรคลีเจียนแนร์ คืออะไร

  เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อมากมีภาวะปอดอักเสบ อาการรุนแรง และอัตราป่วยตายสูง เรียกว่า โรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires disease) และอีกแบบไม่มีภาวะปอดอักเสบ อาการไม่รุนแรง เรียกว่า โรคไข้ปอนเตียก (Pontiac fever) วิธีการแพร่โรคโดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนทางระบบทางเดินหายใจ โดยคนหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป

เชื้อของโรคลีเจียนแนร์ พบได้ที่ไหน

  โรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่ สามารถพบได้ทั่วโลกทั้งเขตร้อนและเขตหนาว มีเชื้อลีจิโอเนลลา (Legionella) เป็นเชื้อก่อโรค โดยเชื้อจะปนเปื้อนมากับละอองน้ำและเข้าสู่ทางเดินหายใจ
  เชื้อชนิดนี้มักพบในบริเวณที่มีน้ำขังนิ่ง มีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่มักจะพบในระบบเครื่องปรับอากาศหรือถังเก็บน้ำระบายความร้อน ที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่โดยเฉพาะในโรงแรม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในก๊อกน้ำ เครื่องทำน้ำร้อน และฝักบัวอาบน้ำที่ไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง

การติดต่อ การแพร่เชื้อของโรคลีเจียนแนร์

  โรคนี้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ยังไม่มีรายงานยืนยันการแพร่ระบาดจากคนไปสู่คน ระยะฟักตัวของโรคลีเจียนแนร์ 2-10 วัน ส่วนใหญ่ 5-6 วัน โรคไข้ปอนเตียก 5-66 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ 24-48 ชั่วโมง

การพบโรคลีเจียนแนร์ในประเทศไทย

  ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคลิเจียนแนร์ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 มิถุนายน 2560 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวน 7 ราย ทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จากประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งมีประวัติเข้าพักโรงแรมใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ และภูเก็ต เมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.70 ส่วนเพศหญิง ร้อยละ 32.61 และ ไม่ระบุเพศ ร้อยละ 8.70
 สัญชาติที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ อังกฤษ (ร้อยละ 21.95) รองลงมาคือ สวีเดน (ร้อยละ 17.07) และนอร์เวย์ (ร้อยละ 12.50) ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่ผู้ป่วยมีประวัติเข้าพักสูงสุดคือ สุราษฎร์ธานี (ร้อยละ 41.86) รองลงมาคือ ภูเก็ต (ร้อยละ 30.23) กระบี่ (ร้อยละ 20.93) พังงา (ร้อยละ 6.98) และชุมพร (ร้อยละ 2.33) ตามลำดับ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคลีเจียนแนร์

  ประชาชนทั่วไปที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอาการป่วยใดๆ สำหรับกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง

อาการของโรคลีเจียนแนร์

 สำหรับอาการป่วยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คืออาการเบาจนถึงหนัก
- อาการเบาจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ในทางการแพทย์เรียกว่า โรคไข้ปอนเตียก (Pontiac fever)
- อาการหนัก จะเกิดขึ้นหากเชื้อเข้าสู่ร่างกายไปที่ปอด ทำให้ปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต จะเรียกว่าโรคลีเจียนแนร์

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม