สมุนไพรรสขม สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว


สะเดา คืออะไร มาจากไหนกันนะ

     สะเดาเป็นต้นไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณทางยา และเป็นต้นไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน ต้นสะเดาถือเป็นต้นไม้ที่มีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความเชื่อทางศาสนา และการรักษาโรค รวมถึงประโยชน์ใช้สอย 




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะเดา 

     ต้นสะเดา จัดเป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี มีรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และสะเดาช้าง โดยสะเดาไทยและสะเดาอินเดียเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างสายพันธุ์กัน โดยต้นสะเดานั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยจะกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงท­­­ั่วประเทศ มักผลิดอกออกผลในหน้าหนาว





สะเดากับคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่ธรรมดา 

    จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า สะเดา เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเต็มเปี่­­­ยม อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง และโรคมะเร็ง เป็นต้น 

สะเดา สรรพคุณทางยาที่มีต่อสุขภาพ

   สะเดาเป็นได้ยาและอาหารรักษาโรค  แค่สะเดาต้นเดียวก็สามารถช่วยบำรุงสุขภาพของเราให้แข็งแรงได้เปรียบเสมือนหวานเป็นลมขมเป็นยา   เห็นได้จากสรรพคุณดังนี้ 

1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย 

    ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ก็จะช่วยให้เลือดสะอาด เป็นการล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น 


      สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดสะเดามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ดังนั้น จึงสามารถบรรเทาอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียได้ผลอย่างชะงัดนัก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส

3. แก้ไข้มาเลเรีย
 
     สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิ และนิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ­­­ 

4. โรคไขข้อ 

      ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด และบวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้­­­อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน 

5. บำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร 

    ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี เพิ่มปริมาณน้ำดี ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภท­­­ไขมันได้ดีขึ้นด้วย 






6. บำรุงสุขภาพช่องปาก

     ตามตำราอายุรเวทแล้ว สะเดาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงเหงือกและฟัน จึงนิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป จึงช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก 

7. ช่วยให้เจริญอาหาร

    การที่สะเดาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำดีทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น จะทำให้เราเจริญอาหารตามไปด้วย นอกจากนี้ ความขมของสะเดาก็ยังช่วยให้เจริญอาหารด้วยเช่นกัน 

8. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง  

     มีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง โดยไม่ก่อผลข้างเคียงใด ๆ 

9. คุมกำเนิด 

     ตามตำราแพทย์อารยุรเวทบันทึกไว้ว่ามีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุม­­­กำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยลักษณะวิธีใช้จะต่างกัน สำหรับผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอ­­­ดเพื่อชะลอการปฏิสนธิกับไข่ โดยจะฆ่าเชื้ออสุจิให้ตายภายใน 30 วินาที ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ เพื่อยับยั้งการปล่อยอสุจิที่จะออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง

10. บำรุงข้อต่อ 

    สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเรา และยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคไฟโบรไมอัลเจีย(Fibromyalgia) หรือโรคในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังอีกด้วย 

11. ป้องกันเบาหวาน 

    สะเดามีรสขมสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารได้อีกด้วย




12. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรค
 
     สะเดามีฤทธิ์ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น ลดการติดเชื้อในร่างกาย ต้านโรคหวัดได้ดี 

13. ลดการติดเชื้อในช่องคลอด 

       น้ำมันสะเดา สามารถช่วยลดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ หากใช้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสตั้งท้องยากขึ้น 

14. บำรุงหัวใจ 

       ตามตำราแพทย์พื้นบ้านระบุว่า ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติขึ้น ปรับสมดุลจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจจึงแข็งแรงขึ้น 

 


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม