ใครยังอิ่มเอมกับวันหยุดได้ไม่เต็มที่บ้าง ชูจั๊กกะแร้กันสูง ๆ ได้เลย
เพราะวันหยุดมีเท่าไหร่ไม่เคยพอบางคนได้หยุด 5 วัน บางคนได้ 4 วัน บางคนลายาวแบบหายตัวไปครึ่งเดือน แต่ไม่ว่าจะกี่วันก็ตาม พอต้องกลับมาทำงานเท่านั้นแหละ “โรคขี้เกียจทำงาน” กำเริบทุกที เบลอ ๆ ไปหลายวัน จำอะไรไม่ค่อยได้ งานค้างอะไรบ้าง ต้องทำอะไรต่อ เรียกว่าเอ๋อไปหลายวันกว่าจะปรับตัวได้ จริง ๆ แล้ว โรคขี้เกียจทำงานมีจริง ไม่ใช่โรคอุปโลกน์ขึ้นมาหลอกหัวหน้าเล่น ๆ เท่านั้น เพราะตามหลักจิตวิทยาทั่วไปของมนุษย์แล้ว เมื่อมีวันหยุดยาวก็มักจะปลดปล่อยอารมณ์ เที่ยวอย่างเต็มที่ พอต้องกลับมาทำงานเข้าสู่สภาพการใช้ชีวิตปกติจึงคล้ายกลับชีวิตเปลี่ยนไปอีกด้านหนึ่ง ทางจิตวิทยาเรียกว่าอาการ Fatigue เป็นความอ่อนล้า หรืออาการอิดโรยทั้งกายและใจ สภาวะแบบนี้จะทำให้มีอาการไม่อยากทำงาน เบื่อ ไม่มีแรงกระตุ้น ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ หลังจากหยุดยาวไปแล้ว 1-2 วันจึงจะกลับสู่โหมดการทำงานปกติได้ เรียกว่าช่วงวันแรก ๆ หลังจากกลับมาทำงานก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรนั่นเองแต่จะปล่อยให้โรคขี้เกียจทำงานกำเริบทุกครั้งหลังหยุดยาวคงไม่ดีแน่ เพราะน่าจะมีผลกับการประเมินอยู่ไม่น้อย งั้นมาปลุกตัวเองให้แอคทีฟ ทำให้วันหยุดยาวเป็นชาร์จพลังอย่างเต็มที่เพื่อมาเริ่มทำงานอย่างสดใสกันดีกว่า
1. พักผ่อนให้เต็มที่ ช่วงวันหยุดยาวหลายคนเต็มที่กับชีวิตมาก ทำให้นอนไม่เป็นเวลาบ้าง ไม่ได้นอนบ้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่จะใช้ชีวิตแบบนั้น แต่เมื่อถึงเวลาต้องเข้าสู่โหมดชีวิตปกติก็ต้องไม่ลืมที่จะปรับเปลี่ยนเวลาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่พรุ่งนี้จะทำงานอยู่แล้ว วันนี้ยังออกไปเซิ้งจนตีสาม ตีสี่อยู่แล้ว แบบนี้ยังไงก็ทำงานพรุ่งนี้ไม่รอดแน่วิธีที่ดีที่สุดที่จะกำจัดโรคขี้เกียจทำงานหลังวันหยุดยาวไปได้ก็คือ ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนน้อยหรือไม่ได้นอนดูดพลังชีวิตและพลังในการทำงานของคุณไปเยอะมาก แม้ตอนนั้นจะรู้สึกสนุกสุดเหวี่ยง ไม่มีปัญหากับการใช้ชีวิต แต่รับรองว่าเมื่อเข้าสู่โหมดการใช้ชีวิตปกติ การพักผ่อนไม่พอมีผลกับร่างกาย จิตใจ และสมองของคุณเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มต้นทำงานหลังหยุดยาวควรให้เวลากับตัวเองอย่างน้อย 1 วันเพื่อดึงสติ จัดสรรเวลาให้ร่างกายเป็นไปตามระบบ จะได้ไม่อ่อนเพลียเกินไปจนเป็นที่มาของโรคขี้เกียจทำงานได้
3. จัดระบบการทำงานให้เข้าที่ เมื่อหยุดงานไปนาน ๆ บางคนยังไม่สามารถจัดระบบความคิดให้เข้าที่เข้าทางได้ ไม่รู้จะทำอะไรก่อน-หลัง จำไม่ได้ว่ามีงานอะไรค้างบ้าง ที่สำคัญเมาท์ก็อยากเมาท์ งานก็ต้องทำ ไป ๆ มา ๆ ก็เลยเสียเวลาไปกับการเมาท์และคิดว่าจะทำอะไรมากกว่าการลงมือทำงานเสียอีกเพราะฉะนั้นการจัดระบบการทำงานให้เข้าที่หลังวันหยุดยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มต้นการไปถึงที่ทำงานให้เร็วกว่าเดิมเพื่อเตรียมพร้อม จากนั้นก็วางแผนจัดลำดับให้ได้ว่าต้องทำอะไรก่อนหรือทำอะไรหลัง เริ่มจากงานที่ค้างก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้ายิ่งยืดเยื้อก็จะยิ่งเบื่อหน่ายกับมันมากขึ้น ต่อไปก็ลงมือทำงานอย่างเป็นระบบตามแผนที่ได้วางไว้ รับรองว่าวิธีนี้ช่วยทำให้เริ่มงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน
4. หาจุดโฟกัสใหม่ แน่นอนที่สุดว่าหลังวันหยุดยาว หลายคนน่าจะมีจุดร่วมจุดเดียวกันก็คือการเมาท์อย่างเมามันส์ ไปไหนมา ทำอะไรบ้าง อวดรูปชิค ๆ คูล ๆ กันบ้าง ฯลฯ ซึ่งการยังวนเวียนอยู่กับวันหยุดที่ผ่านมาไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากการเพิ่มจำนวนตัวขี้เกียจให้มากขึ้นและทำให้หลุดโฟกัสจากงานออกไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้โรคขี้เกียจทำงานกำเริบ ต้องหาจุดโฟกัสใหม่ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเรื่องงาน แต่ถ้าเป็นเรื่องงานก็จะทำให้การเริ่มงานราบรื่นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงาน พูดคุยเกี่ยวกับงานที่ค้างก่อนที่จะหยุดยาว หรือการประชุมในวันแรกหลังหยุดยาวก็เป็นจุดโฟกัสที่ดีที่ทำให้ตื่นตัวมากขึ้น
5. กระตุ้นตัวเองตลอดเวลา การทำงานไม่ว่าจะเป็นวันไหน เมื่อไหร่ ถ้าปล่อยตัวเองให้ล่องลอยทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแรงผลักดัน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ก็เท่ากับการเดินถอยหลังที่ไม่มีวันไปถึงจุดหมายและไม่มีวันประสบความสำเร็จในการทำงานคนที่มีแรงจูงใจในการทำงานสูงจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดี มีคุณภาพ ซึ่งปกติหลังจากได้พักผ่อนอย่างเต็มที่หรือไปท่องเที่ยวมาแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะกลับมาด้วยแรงจูงใจและสมองอันปลอดโปร่ง พร้อมที่จะทำงานอีกครั้ง แต่ก็มีบางคนที่ยิ่งหยุดยิ่งขี้เกียจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการกระตุ้นตัวเองตลอดเวลา เพื่อสร้างแรงจูงใจใหม่ ๆ อยู่เสมอ และไม่ว่าจะหยุดยาวหรือไม่ก็ตาม คุณก็จะทำงานได้อย่างดีตลอดเวลา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น