ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค อย่านิ่งนอนใจ
สาเหตุของอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์
1. วัณโรคปอด
พบในคนวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นระยะยาวนาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด เจ็บหน้าอกหรือหอบเหนื่อย แยกห้องอยู่ไม่ควรพักกับคนรอบข้างหรือใช้แม็ทปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องการแพร่กระจ่ายเชื้อไวรัสออกไปและคนรอบข้างควรปิดปากจมูกเช่นกัน
2. มะเร็งปอด
พบในคนวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้ ทรุดโทรม ผิวคล่ำตามตัว
3. ถุงลมปอดโป่งพอง
1. วัณโรคปอด
พบในคนวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นระยะยาวนาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด เจ็บหน้าอกหรือหอบเหนื่อย แยกห้องอยู่ไม่ควรพักกับคนรอบข้างหรือใช้แม็ทปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องการแพร่กระจ่ายเชื้อไวรัสออกไปและคนรอบข้างควรปิดปากจมูกเช่นกัน
2. มะเร็งปอด
พบในคนวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้ ทรุดโทรม ผิวคล่ำตามตัว
3. ถุงลมปอดโป่งพอง
พบในวัยกลางคนขึ้นไปและมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ
4. หืด
พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก เป็นได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการไอร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดังวี้ด เมื่อสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้น เช่น ไรฝุ่นบ้าน (พบตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นที่ทำด้วยนุ่นหรือเป็นขน ๆ) เชื้อรา (พบสปอร์ตามความเย็น (เช่น อากาศเย็น แอร์เย็น) การออกกำลังกาย
5. หลอดลมอักเสบ
พบหลังเป็นไข้หวัด ช่วงแรกมักไอมีเสมหะ บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย เมื่ออาการไข้ทุเลาและเสมหะลดน้อยลงและเปลี่ยนเป็นสีขาว ผู้ป่วยจะมีอาการไอแบบระคายคอมักจะไอมากเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะค่อย ๆ ทุเลา กว่าจะหายขาด อาจใช้เวลา 1-3 เดือน มีอาการหายใจแรง
6. โรคภูมิแพ้
มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใส ๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ และกำเริบอีกเมื่อหยุดยา มีอาการได้ตลอดเมื่อมลภาวะอากาศหรือมีอากาศเปลี่ยนแปลง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น