กล้วยน้ำว้า เป็นยาแก้ท้องเสีย

ลักษณะของ…กล้วยน้ำว้า



   ⇒  ต้น กล้วยเป็นพืชล้มลุก ลำต้นกลมใหญ่ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นมีกาบสีเขียวอ่อนหุ้มหลายชั้น ต้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ทำกระทง  ใช้ทำพิธีต่างๆ




  ⇒  ใบ ใบเดียวเป็นทางยาวใหญ่ยาวกว่า 1 เมตร เรียงเดี่ยวกางออกทุกทิศทาง เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อนและมีนวลสีขาว  ยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น ห่อขนมเทียน  ทำบายศรีสู่ขวัญ  กระทง 




  ⇒  ดอก มีดอกใหญ่สีแดงอิฐเป็นช่อยาวห้อยลงเรียกว่า “หัวปลี” มีลักษณะเป็นกลีบใหญ่ซ้อนทับกัน ข้างในเป็นกลีบสีขาวซ้อนกัน ต่อมาเมื่อโตขึ้นเป็นผลดิบกลมยาวสีเขียว  และนำมาประกอบอาหารได้อีก




  ⇒   ผล ออกผลเป็นเครือที่มีอยู่หลายหวีซ้อนกัน ผลสุกมีสีเหลืองทอง ผลกล้วยเหมาะสำหรับกินเมื่อสุก ออกผลหนึ่งครั้งแล้วต้นจะถูกตัดทำลาย  และนำมาทำขนมหวานได้อีกมามาย เช่น ข้ามต้มมัด กล้วยเชื่อม กล้วยต้ม เป็นต้น



ประโยชน์ทางยาของ…กล้วยน้ำว้า

 ⇒  ผลกล้วยดิบมีรสฝาดใช้แก้ท้องเสีย โรคกระเพาะอาหารเพราะมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ โดยออกฤทธิ์สมานแผล และเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือกในกระเพาะและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเมือกด้วยสารสำคัญ คือ ซิโตอินโดไซด์ ผลสุกมีรสหวานใช้เป็นยาระบาย 

 การใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร

  ⇒  ใช้ผลกล้วยดิบมีสรรพคุณฝาด สมานแผล กระตุ้นกระเพาะให้หลั่งสารมิวซินออกมา

  ⇒  ผลกล้วยดิบ ปั้นเป็นยาลูกกลอนทานครั้งละ 4 เม็ด หลังมื้ออาหาร



การใช้รักษาท้องผูก

  ⇒  กินกล้วยน้ำว้าสุกงอม วันละ 2-4 ผล ช่วยแก้อาการท้องผูก เพราะมีเยื่อเพกตินช่วยหล่อลื่นอุจจาระและเพิ่มกากอาหาร บรรเทาอาการท้อกผูกได้



ความเป็นพิษ
 
  ⇒   เนื่องจากสารซิโตอินโดไซด์ เป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ในรูปสารสกัดในระยะยาวอาจมีผลเสีย แต่การใช้กล้วยรักษาอาการต่างๆ นั้นมีฤทธิ์น้อยกว่าสารสกัดเป็น 300 เท่า และรักษาเป็นครั้งเป็นคราว จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม