การกลั้นปัสสาวะลำบากในภายภาคหน้า
โดยความรุนแรงของอาการนั้นเริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริมาณที่ไม่มากนัก ไปจนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ดร่วมด้วย ผู้สูงวัยบางท่านแม้ยังไม่เริ่มมีอาการดังกล่าวแต่ก็อาจเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน ปัสสาวะไม่สุด รู้สึกอยากปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งสิ้น
โดยปกติแล้วการควบคุมการปัสสาวะในมนุษย์นั้นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ
โดยปกติแล้วการควบคุมการปัสสาวะในมนุษย์นั้นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ
- ศูนย์สั่งการการปัสสาวะ และระบบประสาทบริเวณสมองและไขสันหลังที่ดี
- กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดบริเวณท่อปัสสาวะที่แข็งแรง
- ลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะที่ปกติ
- สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปัสสาวะ
เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเราอายุมากขึ้น
- การทำงานของกระเพาะปัสสาวะเริ่มเสื่อมลง บางรายอาจมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะบ่อยเกินไปโดยไม่สามารถควบคุมได้ หรือในทางกลับกันอาจบีบตัวได้น้อยเกินไปก็เป็นได้
- กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหดตัวหรือคลายตัวได้ตามปกติ โดยเฉพาะในเพศหญิงที่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคลอดตามธรรมชาติหรือการผ่าตัดคลอดบุตรก็ตาม
- ปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะไปแล้ว มีปริมาณมากกว่าคนปกติ
- ในเพศชาย ภาวะที่พบบ่อยคือ ต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดได้
- มีการสร้างปัสสาวะในช่วงเวลากลางคืนมากขึ้น
ประเภทของอาการปัสสาวะเล็ด
1. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่ง (Stress incontinence)
➢ อาการมักเกิดในผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดลดลง แม้ความจุของกระเพาะปัสสาวะยังไม่เต็มที่ก็เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เพียงแค่ออกแรง เบ่ง ไอ จาม เพียงเล็กน้อย
2. อาการปัสสาวะเล็ดช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Urge incontinence)
➢ ปัญหาของการเชื่อมโยงระบบประสาทสั่งการจากสมองและไขสันหลังมายังระบบปัสสาวะ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
➢ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะเอง เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่งและช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Mixed incontinence)
➢ สาเหตุเกิดจากโรคทางระบบประสาทและสมอง และ ภาวะความจำเสื่อมขั้นรุนแรง หรือปัญหาโรคทางจิตเวช
4. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อความจุของกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่แล้ว (Overflow incontinence)
➢ สาเหตุเกิดจากปัญหาของลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ต่อมลูกหมากโต มีท่อปัสสาวะตีบ
➢ การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง โรคเบาหวาน
➢ ปัญหาทางระบบประสาทอื่นๆ
➢ ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจำ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น