ประโยชน์ และ โทษ ของปลาร้า ควรรู้ไว้


    ในทางกลับกัน ปลาร้า ก็มีสารก่อโทษต่อร่างกายเช่นกัน และสารที่อาจเป็นพิษ มีดังนี้ 








1. เชื้อพิษ
     มักเกิดจากขั้นตอนในการทำ นั่นคือต้องการหมักให้เน่าเร็ว ทำให้ไหปลาร้ามีสภาพไม่ต่างจาก“รังเชื้อโรค” ซึ่งเชื้อบางอย่างถือเป็เชื่อที่ดี หนอนในปลาร้าก็สามารถรับประทานได้ แต่บางครั้งในขั้นตอนการทำ หรือตอนตากเปิดไว้อาจมี “เชื้อร้าย” ปนเปื้อนเข้าไป 

2. เคมีพิษ 
     โดยเฉพาะสารก่อมะเร็ง ชื่อ “ไนโตรซามีน” เกิดจากการหมักจนได้ที่ แล้วเกิดปฏิกิริยากับดินประสิวเช่นเดียวกับในกุนเชียง ไส้กรอก 

    เคยมีคำกล่าวทำนองที่ว่า หากกินปลาร้าแล้วจะทำให้หน้าแก่นั้น ก็เป็นเพราะว่าในปลาร้ามีน้ำย่อยชนิดหนึ่ง ชื่อ “ไทอะมิเนส” ที่ย้อยวิตามินบี1 ที่เป็นสารจำเป็นสำหรับเส้นประสาทและผิวหนัง ถ้าขาดไปก็จะทำให้ผิวหนังดูไม่สดใสได้ แต่นั่นเป็ฯในกรณีทัรับประทานปลาร้าเป็นประจำ และเป็นปลาร้าดิบเท่านั้น ดังนั้นทางที่ดีควรเลือกรับประทานปลาร้าที่ผ่านการทำหุ้กแล้วจะดีกว่า เพื่อป้องกันเชื้อโรค หรือเพื่อคงคุณค่าของวิตามินบี1 เอาไว้ 

  เคล็ดลับในการกินปลาร้าให้ได้ดีไม่เสียรสเสียชาติ ดังนี้ 




1. จับปลาร้าทำกับข้าวให้ถูกชนิด เช่น ถ้าปลาร้าชิ้นใหญ่ อย่างปลาร้าปลาช่อน ก็ทอดเอาจะอร่อย ถ้าปลาร้าชิ้นเล็กอย่างปลาร้าปลากระดี่ก็เอามาหลน 

2. รับประทานปลาร้ากับผักเขียวจัด เพราะปลาร้า เท่ากับ แคลเซียม และ ผักเขียว เท่ากับ แมกนีเซียม ถ้าแคลเซียมเจอแมกนีเซียมแล้วมันจะจูงมือกันสร้างกระดูกให้เราได้ดีทีเดียว 

3. รับประทานปลาร้าสุก โดยเคล็ดในการทำปลาร้าสุกให้อร่อยไม่แพ้กินดิบก็คือ ต้องสับให้ละเอียดจนก้างป่น เช่น สับพร้อมเครื่องปรุงอย่างพริกคั่วจนหอมให้ละเอียดไปด้วยกัน 

4. ระวังปลาร้าปนยาฆ่าแมลง รวมถึงปลาแห้ง ปลาป่น ปลาเค็มด้วย สังเกตง่ายๆ ถ้าไม่มีแมลงวันตอม แสดงว่าปลาร้ามียาฆ่าแมลงปนอยู่แน่นอน 
4. ถ้ากำลังหัดรับประทานปลาร้า ขอให้เริ่มจากปลาร้าหลนก่อน เพราะคนชอบผักก็กินได้ คนชอบปลาร้าก็กินดี แล้วราย ไหนรายนั้นมักติดใจกัน 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม