ผู้หญิงท้องกับการนอน อีกหนึ่งปัญหากวนตัวกวนใจที่มากับการตั้งครรภ์และวิธีรับมือ
การตั้งครรภ์ ถือเป็นประสบการณ์ที่หนักหน่วง เนื่องจากคุณต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งความไม่สบายทั้งกาย และความเครียดทางอารมณ์ และอีกหนึ่งปัญหาก็คือ การตั้งครรภ์สามารถส่งผลต่อการนอนของคุณ และทำให้เกิดเป็นปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้ มาดูกันว่า ผู้หญิงท้องกับการนอน มีปัญหาแตกต่างกันไปอย่างไรบ้าง ในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์
การนอนในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นั้น คุณอาจเกิดอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก และปัสสาวะบ่อย ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งควบคุมวงจรการเจริญพันธ์ุของผู้หญิง ที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม และรู้สึกอยากนอนตอลดเวลา อีกทั้งฮอร์โมนชนิดนี้ ยังทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียมาก และไม่อยากทำอะไรเลย นอกจากนี้ คุณอาจพบปัญหานอนหลับไม่สบาย เนื่องจากอาการเจ็บเต้านม ดังนั้น คุณควรฝึกนอนตะแคงซ้าย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และให้สารอาหารเข้าสู่มดลูกและทารกในครรภ์ สาเหตุอีกหนึ่งประการ ที่ทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ คือการขยายตัวของมดลูก ที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกดมากขึ้น ในการจัดการกับปัญหานี้ คุณไม่ควรดื่มน้ำมากในช่วงค่ำ และสิ่งที่ควรทำในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์คือ การพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
การนอนในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรก การนอนหลับดีขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้น คุณอาจเริ่มสร้างนิสัยใหม่ๆ ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เช่น การนวดก่อนเข้านอน หรือจัดตารางเวลาการนอนที่สม่ำเสมอ และการนำอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ (เช่น โทรทัศน์ แล็ปท็อป และอื่นๆ) ออกจากห้องนอน คุณยังสามารถปรึกษาแพทย์ ถึงการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาบางอย่างที่คุณยังต้องประสบ ในช่วงสามเดือนนี้ อาจเป็นตะคริวที่ขา กรน แสบร้อนกลางอก และ หยุดหายใจขณะหลับ คุณควรปรึกษาแพทย์ หากคุณรู้สึกว่าอาการเหล่านี้ ส่งผลต่อการนอนของคุณ แพทย์อาจแนะนำการรักษาบางอย่าง ที่ปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์
การนอนในช่วงไตรมาสสุดท้าย
ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ปัญหาการนอนอาจกลับมา และหนักกว่าในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสอง คุณอาจพบว่า นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับลึกได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง และมักตื่นแต่เช้า นอกจากนี้ หน้าท้องจะขยายขึ้น และทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น แพทย์จึงแนะนำท่าทางในการนอน โดยการนอนตะแคงซ้าย และสอดหมอนไว้ระหว่างขา ใต้ท้องและหลัง แทนการนอนราบ บางคนอาจมีอาการแสบร้อนกลางอก ปัสสาวะมากขึ้น หรือมีอาการขากระตุกร่วมด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น