ปริมาณ “เกลือ” หรือ “โซเดียม” ที่เราควรทานในแต่ละวัน



ปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคต่อวัน

   ความเค็มคือรสชาติที่เกิดจากเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ ร่างกายได้รับโซเดียมผ่านทางการบริโภคเป็นหลัก ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกาย คือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (น้ำปลา 4 ช้อนชา) แต่ผลการสำรวจของกรมอนามัย กลับพบว่าคนไทยได้รับโซเดียม  โดยเฉลี่ยสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเกินกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้กว่า 2 เท่า ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต ซึ่งหากจำกัดโซเดียมในอาหารได้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดระดับความดันโลหิตตัวบนลดลง 2-8 มิลลิเมตรปรอท และลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต เป็นต้น

สาเหตุที่คนไทยบริโภคโซเดียมมากเกินไป

   ปัจจุบันประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพเน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพน้อยลง มีแนวโน้มในการซื้ออาหารมารับประทานเองและซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น  สำหรับกรณีที่จะมีการเก็บภาษีความเค็มนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี โดยมุ่งเป้าจัดการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการได้รับโซเดียม ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

ตัวอย่างอาหารโซเดียมสูง

  • กุ้งแห้ง 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,240 มิลลิกรัม
เมนูที่มีกุ้งแห้ง : ยำกุ้งแห้ง ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวต้มยำสูตรสุโขทัย ขนมกุยช่าย ฯลฯ
  • ปลาอินทรีเค็ม 10 กรัม มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัม
เมนูที่มีปลาอินทรี : ยำปลาอินทรี คะน้าปลาเค็ม ข้าวผัดปลาเค็ม
  • ต้มยำปลากระป๋อง 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,000 มิลลิกรัม
  • น้ำพริกกะปิ 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,250 มิลลิกรัม
  • ส้มตำปู 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัม
  นอกจากจะพยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสเค็มจัดแล้ว ควรลดการปรุงรสในอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่างๆ ลง ลดการทานอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป ขนมกรุบกรอบ และเลือกซื้ออาหารโดยอ่านปริมาณโซเดียมในข้อมูลโภชนาการในฉลากทุกครั้ง

ความคิดเห็น