"ความเศร้าและวิตกกังวล" ผลข้างเคียงทางจิตใจของ "โรคเบาหวาน"

  

  การมีชีวิตอยู่กับ โรคเบาหวาน มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยเหมือนกับการทำงานหนักๆ แบบเต็มเวลา ผู้ป่วยอาจรู้สึกท่วมท้นไปกับสิ่งที่ต้องทำมากมาย ทั้งการตรวจเลือด การกินยา การคุมคาร์โบไฮเดรต การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามรายการต่างๆ อย่างเคร่งคัด อาการนี้เรียกว่า ความเศร้าและวิตกกังวล ของโรคเบาหวาน ผลข้างเคียงทางจิตใจในผู้ป่วยเบาหวานไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพของคุณ แต่ยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ดีของคุณด้วย

ความเศร้าและวิตกกังวล จากโรคเบาหวานและผลกระทบในการดูแลตัวเอง

  ความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวาน เป็นเรื่องยากที่จะนิยาม และจากปัญหาทางจิตใจอื่นๆ เพราะอาการนี้เกี่ยวข้องกับหลายๆ อาการ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเศร้า ความเครียด หากผู้ป่วยเบาหวานประสบปัญหาทางอารมณ์โดยตรง ที่เกี่ยวข้องกับความกังวลและภาระในการใช้ชีวิตอยู่กับการเป็นโรค หมายความว่าพวกเขามีภาวะความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวาน
  ความหงุดหงิด ความกังวล และความเบื่อหน่าย เป็นลักษณะบางประการของอาการนี้ ความรู้สึกเหล่านี้เป็นความกังวลว่าการรักษาจะได้ผลหรือไม่ ผลกระทบของผลข้างเคียงในชีวิตของพวกเขา การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่จำเป็นต้องทำ
  สำหรับโรคเบาหวานและอื่นๆ งานวิจัยระบุว่าราวสามส่วนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะพบกับความเศร้าและวิตกกังวลจากโรคเบาหวานในช่วง 18 เดือนของการเป็นโรคนี้ อาการนี้จะทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ป่วยย่ำแย่ งานวิจัยใน Diabetes Care เมื่อปี 2010 ระบุว่า ผู้ป่วยที่มีความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวานสูง มีโอกาสเสี่ยงในการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าผู้ที่มีความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวานต่ำ หรือไม่มีเลย ในทางกลับกัน ผู้ที่คุมอาการเบาหวานได้ไม่ดี สามารถนำไปสู่การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นผลให้เกิดความเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้น

การวินิจฉัยความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวาน

  นักวิทยาศาสตร์บางคนได้พัฒนาการตรวจแบบพิเศษ ที่เรียกว่า ตัววัดความเศร้าและวิตกกังวลของโรคเบาหวาน (Diabetes Distress Scale - DDS) ที่มีจุดประสงค์ในการระบุผู้ที่มีความเศร้าและวิตกกังวล และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของพวกเขาได้ดีขึ้น การตรวจจะครอบคลุม 4 หัวข้อหลักๆ ได้แก่
  • ส่วนแรก เป็นความวิตกกังวลในเรื่องกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เรียกความวิตกกังวลของการต้องทำตามขั้นตอนการรักษาเบาหวาน อย่างเช่น การกินยา การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย
  • ส่วนที่สอง มุ่งเน้นไปที่ความวิตกในการใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานในอนาคต ผู้ป่วยอาจรู้สึกกลัวหรือหดหู่เกี่ยวกับโรคและผลข้างเคียงรุนแรงของพวกเขาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ส่วนที่สามของการตรวจ จะดูถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ สิ่งนี้จะระบุว่า ผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพการรักษาที่ผู้ป่วยกำลังได้รับจากโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการรักษา
  • ส่วนสุดท้าย จะมุ่งเน้นไปที่ความวิตกกังวลในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือความวิตกกังวลทางสังคม ผู้ป่วยบางคนมีความเชื่อผิดๆ ที่ว่า พวกเขาเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากกินของหวานมากเกินไป สิ่งนี้ยังรวมถึงความรู้สึกที่เพื่อนและครอบครัวของคุณ ไม่เข้าใจถึงความยากลำบากของการใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน และไม่ให้กำลังใจในความพยายามดูแลตัวเองของผู้ป่วยอย่างเพียงพอ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม