หลังค่อมในผู้สูงอายุ ภาวะอันตราย รู้ไว รักษาทัน
เราเคยเห็น ผู้สูงอายุที่หลังค่อมกันเป็นประจำ จนยอมรับกันว่าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุ กระดูกที่ค้ำลำตัวของเราให้ตรง เมื่อเริ่มเสื่อมสภาพลง กระดูกผุกร่อนลง ทานรับน้ำหนักไม่ไหว นั่นคือสัญญาณอันตรายของกระดูกที่เริ่มเสื่อมสภาพ หลังค่อมในผู้สูงอายุ คือ อาการที่บอกว่าร่างกายขาดแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กระดูกผุกร่อน หรือโรคกระดูกพรุน กระดูกสันหลังจึงไม่สามารถรับน้ำหนักตัว เมื่อหลังเริ่มโค้งค่อม เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งชัดว่ากระดูกเริ่มกร่อนไม่ใช่เฉพาะแค่กระดูกสันหลังเท่านั้น กระดูกส่วนอื่นๆ เช่น ข้อมือ สะโพก หรือหัวเข่า ก็กร่อนไปด้วยเช่นกัน โรคกระดูกเปราะ หลังค่อมในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร และสามารถป้องกันได้หรือไม่ กระดูกที่สร้างไว้อย่างแข็งแกร่ง และแน่นทึบ ย่อมไม่ผุได้ง่ายๆ หากเราได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ ตั้งแต่ยังเด็กๆ เราทราบกันดีว่าเด็กๆ เราต้องรับประทานนมเพื่อให้ได้แคลเซียมไปสร้างกระดูก และฟัน นมเป็นสารอาหารที่ให้แคลเซียมมากที่สุด เด็กที่รับประทานนมไม่เพียงพอจึงมักขาดแคลเซียม ส่งผลให้เมื่อโตมาร่างกายมีแคลเซียมน้อย และจะเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ในวัยของผู้ใหญ่ เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แคลเซียมที่สะสมมาจะค่อยๆ ลดลงไปตามอายุ เฉลี่ยปีละ 4% เมื่อแคลเซียมได้ลดลง ความกร่อนของกระดูกจะค่อยๆ มากขึ้น ทำให้เกิดโรคกระดูกต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ หรือแม้แต่ โรคข้อเข่าเสื่อม กระดูกสันหลังที่เคยตรง จะค่อยๆ เริ่มงอ ค่อมลง เนื่องจากกระดูกสันหลังไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้นั่นเอง ผู้หญิงจะสูญเสียแคลเซียมในกระดูกได้เร็วกว่าผู้ชาย เราจะเห็นผู้หญิงสูงอายุหลังโก่ง มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนแล้ว หรือผู้หญิงที่ผ่านการตังครรภ์ ก็ทำให้แคลเซียมในร่างกายลดลงได้เช่นกัน การทานแคลเซียมบำรุงกระดูก เพื่อป้องกันการสูญเสีย ทดแทน แคลเซียมในร่างกาย แคลเซียมบำรุงกระดูกที่เรารู้จัก และคุ้นหูกัน คือ แคลเซียมคาร์บอเนต กลไกของการออกฤทธิ์แคลเซียมคาร์บอเนต คือ ตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร + วิตามินดี และเกิดเป็นแคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งจะละลายน้ำได้ดี และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แต่สำหรับผู้สูงอายุ ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น กรดในร่างกายส่วนมากถูกใช้ในการย่อยอาหาร หรือผู้ที่ท้องอืด ต้องทานยาลดกรดเป็นกระจำ ทำให้กรดในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนต ร่างกายจึงขับออกทางของเสีย ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้นั่นเอง แคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มมวลกระดูกในร่างกาย คือ ** แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต **
แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่า 95% โดยไม่ต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร และวิตามินดี
- ช่วยป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อม
- เสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก โดยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก
- สร้างน้ำไขข้อ ทำให้ไขข้อ และกระดูกแข็งแรง
เพียงทานแคลเซียมให้พียงพอต่อร่างกาย เราก็สามารถป้องกันโรคกระดูกเปราะ กระดูกพรุน หลังค่อม ได้แล้วค่ะ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สุขภาพของฟันแข็งแรงขึ้นด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น