หน้าที่และประโยชน์ของไอโอดิน (Iodine)


  ไอโอดีน (Iodine)





   ไอโอดีน คือ แร่ธาตุที่ร่างกายของเราไม่ต้องการมากนัก และเมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนก็จะเปลี่ยนให้เป็นไอโอไดด์  โดยร่างกายของเราจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 25 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0004 ของน้ำหนักตัว ซึ่งครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมธัยรอยด์ อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ขุมขน ต่อมน้ำลาย ระบบทางเดินอาหาร และกระดูก ส่วนในกระแสเลือดจะมีไอโอดีอยู่ค่อนข้างที่จะน้อยมาก

 การดูดซึมและการเก็บไอโอดีนของร่างกาย

   ระบบทางเดินอาหารของร่างกายจะสามารถดูดซึมไอโอดีนที่มีอยู่ในอาหารหรือน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเกลืออนินทรีย์ของไอโอดีน (Iodine) หรือ ไอโอไดด์ และไอไอไดด์ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งหากมีมากเกินไปก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 1 – 2 วัน หลังจากเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ ไอไอไดด์ก็จะเปลี่ยนไปเป็นไอโอดีนแล้วไปร่วมมือกับไทโรซีน สร้างเป็นไดไอโอโดไทโรซีน (Diiodotyrosine) และไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine) และไทรอกซิน (Thyroxine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีไอโอดีนอยู่ จากนั้นไทรอกซินจะร่วมกับโกลบูลินกลายเป็นไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin) ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในต่อมธัยรอยด์ ต่อมพิทูอิทารีเป็นอีกต่อมหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อม ธัยรอยด์สร้างไทรอกซินเพิ่มขึ้นได้ โดยอาศัยฮอร์โมนที่ชื่อไทโรโทรฟิน (Thyrotrophin) ซึ่งหากร่างกายได้รับไทรอกซินเพียงพอแล้ว ไทรอกซินก็จะไปทำให้ต่อมพิทูอิทารีหยุดสร้างไทโรโทรฟินลง ทั้งฮอร์โมนไทรอกซินและฮอร์โมนไทโรโทรฟิน จึงมีผลในการเพิ่มหรือลดซึ่งกันและกันนั่นเอง

แหล่งอาหารที่พบไอโอดีน

  สำหรับแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน ก็คือสาหร่ายทะเลที่เรียกกันว่า เคลพ์ ( Kelp ) ส่วนสัตว์ทะเลจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 200 – 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ไอโอดีนในเนื้อสัตว์จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกันกับไอโอดีนในพืชซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นๆ ว่าเป็นดินชนิดไหน ในเกลือสมุทรจะมีไอโอดีนมากกว่าเกลือสินเธาว์ และแหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งที่ให้ไอโอดีนก็คือเกลือที่เติมไอโอดีน (Iodized Salt) โดยใช้สารโซเดียมไอโอไดด์ หรือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ ในความเข้มข้นร้อยละ 0.005 – 0.01

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม